วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว



  • ชื่อ : นางสาวฉันทนา นามสกุล แสนโสม
  • ชื่อเล่น : อ้อย
  • สถานภาพ : โสด
  • เกิด : วันอังคาร ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2524
  • ทีอยู่ : บ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 1 ตำบลคำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ชื่อบิดา : นายสุรชัย แสนโสม
  • ชื่อมารดา : นางบาศรี แสนโสม
  • มีพี่น้อง : มีพี่น้องจำนวนทั้งสิ้น 4 คน เป็นบุตรคนที่ 2
  • อาชีพปัจจุบัน : รับราชการ ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ระดับ 4
  • สังกัด : องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
  • การศึกษาสูงสุด : ปริญญาตรี วิชาเอกสถิติประยุกต์ สาขาวิทยาศสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปัจจุบัน : กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • นิสัย : โกรธยาก หายยาก สนุกสนาน มองโลกในแง่ดี จริงใจ รักเพื่อน รักครอบครัว
  • งานอดิเรก : อ่านหนังสือ เล่นคอมพิวเตอร์ ฟังเพลง เที่ยวๆๆๆ
  • ชอบ : สีฟ้า , สีขาว และธรรมชาติ
  • เกลียด : การโกหก
  • อนาคตที่มุ่งหวัง : อยากเที่ยวให้ทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย (ถ้ามีเพื่อน...)

สภาพแวดล้อม ชุมชนทีอยู่อาศัย

















องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก มีประชากร 9,184 คน จำนวน 2,146 ครัวเรือน มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบเต็มทั้งหมู่บ้านจำนวน 18 หมู่บ้าน มีเนื้อที่140 ตารางกิโลเมตร

องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหล มีกิจกรรมที่โด่ดเด่น ดังต่อไปนี้

  • 1. กิจกรรมประเพณีส่งกรานต์แก่งจุการ
  • 2. กิจกรรมรณรงค์ ป้องกันไข้เลือดออก
  • 3. กิจกรรมการปลูกป่า
  • 4. กิจกรรมการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ
  • 5. กิจกรรมบัณฑิตน้อยมุ่งสู่ฝัน
  • 6. กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
  • 7. กิจกรรมส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว แก่งจุการ



















งานวิจัยทางการศึกษาที่อยากจะทำ


หัวข้องานวิจัย มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ในทัศนของบุคลากรทางการศึกษา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย


  1. เพื่อศึกษามาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ในทัศนของบุคลากรทางการศึกษา

  2. เพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัมนาเด็กเล็ก อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ในทัศนของบุคลากรทางการศึกษา

ขอบเขตการวิจัยด้านตัวแปร



  1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระดับการศึกษา ,ตำแหน่งบุคลากร, ประสบการณ์การทำงาน , ขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  2. ตัวแปรตาม ได้แก่ มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกเป็น 4 ด้านคือ

1.) ด้านบุคลการและการจัดการ


2) ด้านอาคารสถานที่และความปลอดภัย


3.) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร


4.) ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามคิดเห็นแบบ Rating scal จำแนกเป็น 3 ตอน คือ


ตอนที่ 1. ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม


ตอนที่ 2. แบบสอบถามความคิดเห็นมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในทัศนของบุคลาการทางการศึกา


ตอนที่ 3. ข้อเสนอแนะอื่นๆ


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอำเภอศรีเมืองใหม่ สามารถนำผลที่ได้จาการวิจัยมาปรับปรุงการดำเนินงานให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทีกำหนด




วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหลกับการใช้ IT


องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหล ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยหมากเหนือ หมู่ที่ 18 ตำบล คำไหล อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบบลราชธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอศรีเมืองใหม่ ห่างจากตัวอำเภอศรีเมืองใหม่ 12 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 140 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 87,500 ไร่

มีอาณาเขตดังนี้



  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม และ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ อำเภอโขงเจียม


  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ และองค์การบริหารส่วนตำบลวาริน


  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ และองค์การบริหารส่วนตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่


  • ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลระเว อำเภอพิบูลมังสาหาร

สภาพพื้นที่ทั่วไป เป็นที่ราบสูง สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายกับเก็บนำไม่ค่อยดี และพื้นที่เป็นป่าบางแห่งถูกบุกรุกกว้างทำไร่นาปัจจุบันสภาพป่าบางส่วนมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ มีหมุ่บ้านในเขตรับผิดชอบเต็มทั้งหมู่บ้าน 18 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านคำไหล ,หมู่ที่ 2 บ้านดอนกลาง ,หมู่ที่ 3 บ้านหนองหิน ,หมู่ที่ 4 บ้านจุการ ,หมู่ที่ 5 บ้านดอนนำคำ, หมู่ที่ 6 บ้านหนองสองห้อง, หมู่ที่ 7 บ้านห้วยหมาก , หมู่ที่ 8 บ้านห้วยหมาก , หมู่ที่ 9 บ้านขัวแคน , หมู่ที่ 10 บ้านหนองเชือก , หมู่ที่ 11 บ้านหนองแสง , หมู่ที่ 12 บ้านคำบอน , หมู่ที่ 13 บ้านดอนตูม , หมู่ที่ 14 บ้านนาห้วยแดง ,หมู่ที่ 15 บ้านหนองนกทา ,หมู่ที่ 16 บ้านคำหว้า ,หมู่ที่ 17 บ้านดอนช้าง และหมู่ที่ 18 บ้านห้วยหมากเหนือ

องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหล มีพนักงานจำนวนทั้งสิ้น 31 คน จำแนกเป็นพนักงานส่วนตำบล จำนวน 10 คน และพนักงานจ้างจำนวน 21 คน

แบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วนดั้งนี้



  • สำนักปลัด มีพนักงาน 13 คน


  • ส่วนการคลัง มีพนักงาน 4 คน


  • ส่วนโยธา มีพนักงานจำนวน 3 คน


  • ส่วนการศึกษามีพนักงานจำนวน 11 คน

องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหล มีอาคารสำนักงานดังต่อไปนี้




  • อาคารอเนกประสงวค์ จำนวน 1 หลัง


  • อาคารส่วนโยธา จำนวน 1 หลัง


  • อาคารศูนย์กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน จำนวน 1 หลัง


  • อาคารโรงเก็บของ จำนวน 1 หลัง


  • อาคารบ้านพักพนักงานส่วนตำบล จำนวน 2 หลัง


  • อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 หลัง


  • ห้องสมุดชุมชน จำนวน 1 หลัง

องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหล มีอุปกรณ์ IT สำหรับใช้ในสำนักงานดังนี้



  • คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จำนวน 12 เครื่อง


  • คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค จำนวน 2 เครื่อง


  • เครื่องถ่ายเอกสาร จำนวน 2 เครื่อง


  • เครื่องแฟ๊กจำนวน 1 เครื่อง


  • โทรศัพท์สำนักงาน จำนวน 1 เครื่อง


  • ห้องส่งรายการวิทยุจำนวน 1 เครื่อง


  • เครื่องโปรเจคเตอร์ จำนวน 1 เครื่อง


  • กล้องดิจิตอล จำนวน 4 ตัว


  • โทรทัศน์พร้อมเครื่องเล่น DVD จำนวน 6 ชุด

ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลคำไหล มีการติดตั้งระบบ IP STAR มีการวางระบบ Lan กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง สามารถใช้อินทราเนตความเร็งสูงได้ทุกเครื่อง มีจุดบริการอินทราเนตสำหรับบริการประชาชน ในวันและเวลาราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการและติดต่องานราชการ ทำให้การทำงานเป็นได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ทันเหตุการณ์ ช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การทำงานมีประสิทธิภาพ เป็นยอมรับของผู้มาติดต่อราชการ





วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน

เทคโนโลยีมางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอน



การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศได้สร้างความเปลี่ยนแลงในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมยุคใหม่ เพื่อเตรียมคนรุ่นใหม่ที่ต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีและนำเคทโนโลยีเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องสร้างเยาวชนของชาติ เพื่อเข้าสู่สังคมยุคใหม่ โดยการจัดสภาพแวดล้อมใหม่ทางการศึกษาทั้งในด้านเนื้อหา สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นการบูรณาการนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มีการบัญญัติไว้ในหมวด 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง ซึ่งมุ้นเน้นให้เกิด "การสอนด้วยเทคโนโลยี" มากกว่า" การสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยี "


การสร้างความเชื่อมรหว่าครูและเทคโนโลยี



  • การใช้เทคโนโลยีทีดี ครูต้องมีวิสัยทัศน์ ด้านความสามรถในการใช้และเลือกใช้ให้ตรงตามโอกาส และสถานที่


  • การฝึกอบรม เวลาในการสนับสนุน (Just-in-time support ) และเวลาในการฝึกประสบการณ์ ดังนั้นครูต้องมีแรงดลใจและความกล้าที่ตะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ


  • การใช้เทคโนโลยีช่วยเปลี่ยนแปลงการสอนของครู


  • การใช้ลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-centered) ครูต้องมีการฝึกฝนและปฏิบัติเพื่อให้มีความชำนาญในทักษะพื้นฐาน หรือผนวกในการควบคุมกิจกรรมด้วยตนเอง


  • การใช้เทคดนโลยีสนับสนุนการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ (Studen- centered) ต้องช่วยให้ผู้เรียนได้สืบค้น เกิดกิจกรรมที่มีความร่วมือกัน โดยครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือแนะนำ โดยครูต้องมีความระตือรือร้นในการใช้เทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้สนับสนุนการสอนได้หลายแบบ


  • การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการสร้างความสัมพันธ์และแลกแปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ,ผู้บริหาร , ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญในชุมชน


  • การช่วยให้ครูใช้เทคโนโลยีได้ผลจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นใจที่จะยอมรับและการนำไปใช้ให้เกิดผลจริงในอนาคต


  • ขาดการลงทุนที่เพียงพอในการฝึกอบรมครูให้สามรถใช้เทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จในการสอน เพราะส่วนใหญ่จะงบประมาณจำนวนมากในการเพิ่มอาร์ดแวร์และซอฟแวร์

อุปสรรคของการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีของครู

1. เวลาของครู (Teacher Time) ครูต้องการเวลาสำหรับ

  • เพื่อการทดลองกับเทคโนโลยีใหม่
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับครูใหม่
  • การวางแผนและปรับรุงแผนการสอนเพื่อใช้วิธีการใหม่ที่รวบรวมการใช้เทคโนโลยี
  • การเข้ารับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติ

2. การเข้าถึงและค่าใช้จ่าย (Access and Costs) ครูมีข้อจำกัดทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และการเข้าถึง เนื่องจาก

  • ค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการจัดซื้ออุปกรณ์ การเชื่อมต่อเครือข่าย และการฝึกอบรมเพื่อใช้เทคโนโลยี
  • แหล่งเทคโนโลยีอยู่ไกลจากห้องเรียน
  • อุปกรณ์ล้าสมัยและไม่สามารถรองรับการใช้งานโปรแกรมใหม่
  • บริการใหม่หรือเพิ่มเติมมีการบริการผ่านระบบโทรทัพท์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3. วิสัยทัศน์หรือเหตุผลในการใช้เทคโนโลยี (Vision or Rationale for Technology use)

  • โรงเรียนจะต้องมีการวางแผนทางเทคโนโลยี และสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนในการใช้เทคโนโลยีในหลักสูตรของโรงเรียน
  • เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร้วจึงเป็นสิ่งที่ยากในการติดตามข้อมูล เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้ดี
  • ครูขาดรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงระดับความสามรถทางด้านเทคโนโลยีของตนเอง

4. การฝึกอบรมและสนับสนุน (Tainting and Support)

  • การลงทุนทางด้านการฝึกอบรมเพื่อใช้เทคโนโลยีมีน้อยมากเมื่อเทียบกับการลงทุนทางด้านอาร์ดแวร์และซอฟแวร์
  • การฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีมุ่งการใช้งาน ขาดการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร
  • หน่วยงานสนับสนุนและช่วยเหลือครูทางด้านเทคนิคที่ประจำในโรงเรียนมีน้อยมาก

5. การประเมินการปฏิบัติงาน (Curren Assessment Practices)

  • การประเมินผลของผู้เรียนไม่สะท้อนถึงการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี
  • ครูต้องการเห็นผลการเปลี่ยนแปลงโดยทันที

อ้างอิง

ที่มา http://www.pochanukul.com/?p=144

http://blog.eduzones.com/applezavip/19716